11032567

      yanheefoundation    Banner-

 

เชิญชวนร่วมบริจาคงบประมาณดับไฟป่า

      1642466-resize800    1642467-resize800

 

**Promotion**

   Untitled

     
 

 

รายละเอียดและอัตราการให้บริการบ้านพักร้านอาหาร

pricehouse**แผนกประชาสัมพันธ์** ติดต่อ 055-881238 facebook: เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
**ร้านอาหารเฮือนภูแก้ว** เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00-22.00 น. ติดต่อ 055-881211-15 ต่อ 4005, 089-961-6572 สั่งอาหารได้ถึงเวลา 21.30 น.
**บ้านพักรับรอง** เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00-22.00 น. ติดต่อ 055-881211-15 ต่อ 4002,4003, 055-881237 facebook: บ้านพักรับรองเขื่อนภูมิพล จ.ตาก
**บริการสระว่ายน้ำ** ผู้เข้าพักบ้านพักรอง บริการฟรี ติดต่อ 055-881237 เด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ราคา 10 บาท ผู้ใหญ่ 30 บาท
**ร้านกาแฟคุณสายชล** เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น. ติดต่อ 055-881211-15 ต่อ 4436 facebook: ร้านกาแฟคุณสายชล Bhumiboldam
**สนามกอล์ฟ** จำนวน 18 หลุม เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ติดต่อ 055-881211-15 ต่อ 4401, 4403
**ห้องประชุม/อบรม/สัมมนา** กำหนดใช้ห้องประชุม 08.00-16.00 น. ติดต่อ 055-881211-15 ต่อ 4002, 4003, 055-881237

 

 

 

1

4

 

 

336527762 116141638021808 5530352494802159799 n

5

 

 

3

6

 

 

336780137 736807058110693 8345702805852336122 n

8

 

 

398313742 736528498520351 4715185433439299878 nMy project-3

×

Notice

Simple Image Gallery Notice: Joomla's /cache folder is not writable. Please correct this folder's permissions, clear your site's cache and retry.

วิดิทัศน์ศาสตร์พระราชา ตำราสร้างชีวิต ตอน ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก

“เลอตอ” โครงการหลวงสุดท้ายในรัชสมัยของพ่อ...สานต่อพระราชปณิธาน (ตอน 2)

รายงานประจำปี

{gallery}event02{/gallery}      

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
วิสัยทัศน์

“เป็นองค์กรหลักที่มุ่งพัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดตากให้มีความเข้มแข็ง มีภูมิคุ้มกัน และทันต่อการเปลี่ยนแปลง”
พันธกิจ
๑. ยกระดับดับคุณภาพและขยายการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป
๒. ส่งเสริม เผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป
๓. ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ภายใต้หลักการสหกรณ์สากล และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๔. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านการบริหารจัดการ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบสหกรณ์
๕. เร่งรัดการจัดที่ดินและพัฒนาอาชีพในเขตนิคมสหกรณ์
๖. พัฒนาหน่วยงาน และบุคลากรภาครัฐให้เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์

เป้าหมาย
๑. สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร สมาชิก ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา
๒. สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไปมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบสหกรณ์
๓. สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป็นพลังสำคัญและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
๔. เป็นหน่วยงานที่มีขีดสมรรถนะสูง และมีความพร้อมในการดำเนินงานตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
กลุยุทธ์
๑. สนับสนุนส่งเสริมให้ใช้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์และเงินทุนอื่นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๒. เสริมสร้างบทบาทและการมีส่วนร่วมของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินกิจกรรม
๓. ขยายการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสหกรณ์ และผลักดันให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๔. สนับสนุน และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบสหกรณ์
๕. ส่งเสริม พัฒนากระบวนการผลิต ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย
๖. เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการให้กับภาคเกษตร สถาบันเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง
๗. เร่งรัดการจัดที่ดินให้สมาชิกอย่างเป็นธรรม ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพสมาชิกนิคมสหกรณ์
๘. พัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
๙. เพิ่มศักยภาพและสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมและคุณธรรมในการปฏิบัติราชการ

 สหกรณ์จังหวัด (ว่าง)
นางทับทิม ยอดกุศล นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ รักษาราชการแทนสหกรณ์จังหวัดตาก
 โครงสร้างและบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก จำนวน 53 ประกอบด้วย
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป จำนวน 8 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 1 ราย
 พนักงานราชการ 5 ราย
 ลูกจ้างประจำ 2 ราย
 ลูกจ้างชั่วคราว 6 ราย
2. กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 5 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 3 ราย
 พนักงานราชการ 2 ราย
3. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ จำนวน 5 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 3 ราย
 พนักงานราชการ 2 ราย
4. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ จำนวน 5 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 3 ราย
 พนักงานราชการ 2 ราย
5. กลุ่มตรวจการสหกรณ์ จำนวน 4 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 2 ราย
 พนักงานราชการ 2 ราย
6. กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 จำนวน 5 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 4 ราย
 พนักงานราชการ 1 ราย
7. กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 จำนวน 5 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 4 ราย
 พนักงานราชการ 1 ราย
ลูกจ้างชั่วคราว 1 ราย
8. นิคมสหกรณ์แม่สอด จำนวน 6 ราย แยกเป็น
 ข้าราชการ 4 ราย
 ลูกจ้างประจำ 2 ราย
 ลูกจ้างชั่วคราว 3 ราย

พันธกิจที่ 1
“เร่งรัดพัฒนาสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก ให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง ประหยัด ก้าวไกลและทันสมัย”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีความพร้อม สามารถบริการ ส่งเสริมและพัฒนา
สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้พึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งของสมาชิกได้
2. เพื่อเร่งรัดพัฒนาสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก ให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า
กลยุทธ์
1. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2. การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก
3. การเสริมสร้างระบบการทำงานใสสะอาด
4. การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารการจัดการสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก
พันธกิจที่ 2
“ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก ให้มีความรู้ความสามารถ
เป็นข้าราชการมืออาชีพ มีบุคลิกภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติตามภารกิจและนโยบายของสำนักงาน
สหกรณ์ จังหวัดตากได้
2. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพแก่บุคลากรสหกรณ์
และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารการจัดการองค์กร
และธุรกิจรวมทั้งเข้าใจอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์
3. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เป็นที่ยอมรับของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตากให้เท่าเทียมกัน
2. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้เป็นที่ยอมรับของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและ
ประชาชนทั่วไป
3. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก


พันธกิจที่ 3
“สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สหกรณ์กลุ่มเกษตรกรสามารถบริหารการจัดการองค์กรและธุรกิจอย่าง
มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเร่งรัดพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้พึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งของสมาชิกและ
ครอบครัว
กลยุทธ์
1. การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารการจัดการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2. การส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพงานสหกรณ์และกลุ่ม
เกษตรกร
3. การจัดระดับชั้นและเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
4. การพัฒนาการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
5. การแนะนำส่งเสริมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์
กฎหมายการบริการการจัดการ การดำเนินงานและการพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และ
กลุ่มเกษตรกร
6. ส่งเสริมแนะนำให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
7. การพัฒนาศักยภาพการบริหารการจัดการธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
8. การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดการกองทุนพัฒนาสหกรณ์
9. การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร เพื่อพัฒนาธุรกิจสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
10. การส่งเสริมผลิตภัณฑ์สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐาน
11. การพัฒนาระบบการตลาดสินค้าสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
12. การส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีธรรมาภิบาล (Good Governance)
13. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
พันธกิจที่ 4
“ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่
บุคลากรของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
3. เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
4. เพื่อให้สมาชิกมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองและมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ
กลยุทธ์
1. สร้างจิตสำนึกในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2. เสริมสร้างภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ระหว่างสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร
และองค์กรชุมชน
3. สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
4. สร้างกลไกการเร่งออกเอกสารสิทธิ์ในการจัดที่ดินทำกิน
5. สร้างโอกาสเข้าหาแหล่งทุนและแก้ไขปัญหาหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
พันธกิจที่ 5
“รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกและประชาชนทั่วไปเข้าใจและศรัทธา
รวมทั้งเผยแพร่ผลงานของขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สมาชิกและประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2. เพื่อให้ประชาชนศรัทธาระบบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยสนับสนุนกิจการและ
สมัครเข้าเป็นสมาชิก หรือรวมตัวกันขอจัดตั้งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น
กลยุทธ์
1. เสริมสร้างบทบาทสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่ชุมชน
2. เผยแพร่ผลงานของขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร


สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก มี สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพในความรับผิดชอบส่งเสริมและช่วยเหลือ
รวม 112 แห่ง แบ่งเป็น
 สหกรณ์ 64 แห่ง
 กลุ่มเกษตรกร 25 แห่ง
 กลุ่มอาชีพ ๒๓ แห่ง

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และปฏิบัติงานตามแผนงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ภายใต้แผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25๖๐ เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดตาก เกิดความเข้มแข็ง สามารถดำเนินงาน โดยการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้สมาชิกมีความอยู่ดีกินดี
ซึ่งในการบริหารงาน แยกเป็นกลุ่มวิชาการ 4 กลุ่ม ฝ่ายบริหารทั่วไป นิคมสหกรณ์ และกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินงานในด้านการส่งเสริมสหกรณ์ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีโรงเรียนตามโครงการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียนภายใต้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 43 โรงเรียน โครงการเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการสหกรณ์ให้แก่นักเรียนในโครงการฯ โดย ทัศนศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรีและในพื้นที่จังหวัดตาก
2. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ดำเนินงานในการพัฒนาการเกษตรครบวงจรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การเชื่อมโยงเครือข่ายสหกรณ์ สนับสนุนร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q shop) ของสหกรณ์ โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรวงเงินที่ได้รับอนุมัติจาก ธ.ก.ส.
3. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ ดำเนินงานในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งทุนในการผลิตและการตลาดและค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ค้างชำระเงินทุนอื่นของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
4. กลุ่มตรวจการสหกรณ์ ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงานระดับจังหวัด แก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง เพื่อประมวลข้อบกพร่องและข้อร้องเรียนต่าง ๆ ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดตาก
5. นิคมสหกรณ์แม่สอด ดำเนินการส่งเสริมการให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุนสมาชิก จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อจัดซื้อเครื่องสีข้าวโพดพร้อมอุปกรณ์ ให้กับสถาบันเกษตรกรจำนวน 2 แห่ง เป็นเงินทั้งสิ้น 4,380,000 บาท โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีแปลงสาธิตเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จำนวน 1 แปลง การจัดที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์ ดำเนินการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.3) จำนวน 277 ไร่ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.5) จำนวน 261 ไร่ และสำรวจวงรอบ-รายแปลงพื้นที่จัดรูปที่ดินที่ยังไม่ได้ขึ้นรูปแผนที่ 50 ไร่
6. ฝ่ายบริหารทั่วไป ดำเนินกิจกรรมการจัดแผนและงบประมาณ สามารถเบิกจ่ายได้ร้อยละ 100 งานการเงิน บุคลากร จัดกิจกรรมงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ การจัดทำคำรับรอง การปฏิบัติราชการและขับเคลื่อน KPI ของหน่วยงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้ดำเนินการโครงการพัฒนาสหกรณ์ชายแดนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยการจัดอบรมให้ความรู้แนวทางการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร การเชื่อมโยงเครือข่าย ให้กับสถาบันเกษตรกรที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การออกหน่วยเคลื่อนที่บริการประชาชนกับจังหวัด ภายใต้แนวคิด บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน ในพื้นที่จังหวัดตากเป็นประจำทุกเดือน
7. กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1 และ 2 ดำเนินการส่งเสริม ให้คำแนะนำ กำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมของสหกรณ์ ในแต่ละพื้นที่ที่รับผิดชอบ ดำเนินโครงการอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และจากปัญหาราคาสินค้าเกษตร (ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในหัวข้อ “ชุมชนเข้มแข็งด้วยวิถีสหกรณ์”) นอกจากนี้ยังช่วยเหลือ และติดตามการปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ ของกลุ่มงานทางวิชาการทุก ๆ กลุ่ม ในฐานะเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ประสานงานทั้งด้านบุคคลและสถานที่ ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้เป็นอย่างดี


ผลการดำเนินงานโครงการเด่น
1. โครงการประกวดโรงเรียนจัดการเรียนรู้การสหกรณ์รางวัลพระราชทานประจำปี
เป้าหมาย
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องใน โอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุ 6๑ พรรษา 2 เมษายน 255๙ และเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี “วันสหกรณ์นักเรียน”
2. เพื่อจัดการประกวดโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์ และส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนดีเด่นระดับประเทศให้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี 2560

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 โรงเรียนภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (ภายในโครงการ กพด.) ได้รับการส่งเสริม การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และสมัครเข้ารับการประเมินมี 3 กลุ่มโรงเรียน ได้แก่
กลุ่มที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรม
กลุ่มที่ 2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
กลุ่มที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และโรงเรียนในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ประเภทที่ 2 โรงเรียนภายนอกโครงการ กพด. ที่นำแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีของโรงเรียน ตชด. มาขยายผล ได้รับการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และสมัครเข้ารับการประเมินมี 1 กลุ่มโรงเรียน ได้แก่
กลุ่มที่ ๑ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ที่มีการประเมินตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ – ๒๕๕8 ที่ประเมินโดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ ๑ - ๒๐ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ยกเว้นโรงเรียนในปี พ.ศ. ๒๕๕6 ที่มีผลงาน/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์)
 ประจำปี 2560 การส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน โดยมีการประกวดประเภทโรงเรียนภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(ภายใต้โครงการ กพด.) กลุ่มโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รางวัลชนะเลิศโล่พระราชทาน ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั้วะ จังหวัดตาก) เพื่อ
เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงประทานแนวทางพระราชดำริโครงการ ในระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ ณ ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

2. รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่จังหวัดตาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามแนวพระราชดำริ ฯ ในพื้นที่จังหวัดตาก

3. การพัฒนาสหกรณ์ชายแดนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
เป้าหมาย/ตัวชี้วัด
1. บุคลากรสหกรณ์ได้รับการพัฒนาความสามารถในการค้าขายตามแนวชายแดน
2. สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาศักยภาพปัจจัยพื้นฐานสำหรับดำเนินการการค้าขายตามแนวชายแดน
3. ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณตามงบรายจ่ายและกิจกรรมหลักและเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กรมกำหนด


กิจกรรม/งานที่ดำเนินการ
1. ชี้แจงโครงการฯ และให้ความรู้แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจสินค้าเกษตรตามแนวชายแดน
2. กำกับดูแล เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในการสนับสนุนอุปกรณ์การตลาด
3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเชื่อมโยงเครือข่ายและการตลาด
4. จัดอบรมแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระดับจังหวัด
5. แนะนำ ส่งเสริม และติดตามผลการดำเนินงานโครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณให้ตรงตามวัตถุประสงค์

4. การจัดการผลผลิตการเกษตรโดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกันของสมาชิก (Motor pool)
เป้าหมาย
1. สมาชิกสหกรณ์สามารถลดต้นทุนการผลิต/ภาระค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำการเกษตร โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการจ้างกะเทาะเมล็ดข้าวโพด หรือเครื่องสีข้าวโพด มีการจัดรอบการผลิตพืช (Crop pattern) ที่เหมาะสม
2. เพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการจัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนให้กับสมาชิกสหกรณ์ (Crop Rotation) และการจัดการผลผลิตการเกษตรโดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกันของสมาชิกโดยสหกรณ์นิคม (Motor Pool) โดยนำสิ่งเหลือใช้ไปจัดการ (Zero waste) หรือผลพลอยของเหลือในระบบ (By product) ไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ
3. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่การผลิต การตลาด ตั้งแต่ต้นน้ำ (Seed hub) กลางน้ำ (Motor pool management) และปลายน้ำในเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิตกับสหกรณ์ผู้ใช้ โรงงานอาหารสัตว์ และผู้ส่งออก (Cooperative among cooperation/Feed Mill/Exporter)

งานที่ดำเนินการ
1. นิคมสหกรณ์แม่สอด สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสมาชิกสหกรณ์ด้านการจัดระบบการปลูกพืช (Corp Rotation) และการจัดการผลผลิตการเกษตรโดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกันของสมาชิกโดยสหกรณ์นิคม (Motor Pool) เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดภาระค่าใช้จ่าย
2. สหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด และ สหกรณ์นิคมแม่ระมาด จำกัด รวบรวมผลผลิตจากสมาชิกสหกรณ์/เกษตรกร และจัดการผลผลิตการเกษตรของสมาชิกโดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกัน ภายใต้กรอบแนวคิด “ให้บริการฟรีเป็นหลัก และเก็บค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น”
3. กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้การสนับสนุนในการสร้างพันธมิตรระหว่างเครือข่ายสหกรณ์ผู้ผลิต กับสหกรณ์ผู้ใช้ผลผลิต เช่น สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุน
4. สนับสนุนงบประมาณ (เงินอุดหนุน) ในการจัดซื้อเครื่องสีข้าวโพดให้กับสหกรณ์นิคมแม่สอด จำกัด และสหกรณ์นิคมแม่ระมาด จำกัด แห่งละ 3 เครื่อง วงเงินทั้งสิ้น 4,380,000 บาท


5. การเสริมสร้างความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister city)
เป้าหมาย เพื่อประสานความร่วมมือ และสร้างความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง ระหว่างแม่สอดและเมียวดี
งานที่ดำเนินการ
1. แต่งตั้งคณะทำงานเสริมสร้างความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง (Sister City)
2. ดำเนินการประชุมคณะทำงานเสริมสร้างความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง (Sister City ) เพื่อเป็นกลไกการหารือในการกำหนดทิศทางการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือในทุกมิติอันจะส่งผลสู่สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ อาทิ เช่น การบริหารจัดการผลิตผลทางการเกษตรโดยขบวนการสหกรณ์ ภายใต้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ความร่วมมือในการป้องกันปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จากปัญหาไฟป่าและหมอกควันข้ามแดน ความร่วมมือในการอนุรักษ์แม่น้ำเมย ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากรณีการให้บริการรถโดยสารสาธารณะข้ามแดน ตลอดจน การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมความสัมพันธ์ ตาก-เมียวดี
3. จัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของจังหวัดตาก และจังหวัดเมียวดี จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวครบวงจร
6. การส่งเสริมสหกรณ์ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วทุกภาคของประเทศไทยตั้งแต่ยังเยาว์พระชันษา ทรงพบเห็นสภาพปัญหาและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ขาดแคลนอาหารที่จะบริโภค เป็นโรคขาดสารอาหาร และสุขภาพอ่อนแอ เจ็บป่วย ไม่แข็งแรง ขาดการศึกษา สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเหล่านี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ดังนั้นเมื่อทรงสำเร็จการศึกษา จึงทรงเริ่มงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยทรงทดลองทำโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน ๓ โรงเรียน เพื่อพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ปัจจุบันการดำเนินงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม ที่ยึดเด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายในการดำเนินงาน ดังนี้
“เพื่อให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มีโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง มีความซื่อสัตย์ เสียสละ สามัคคี และเมตตาผู้อื่น มีความรู้และทักษะทั้งทางวิชาการและการอาชีพ ที่เป็นรากฐานของการพึ่งตนเอง และพัฒนาท้องถิ่นได้ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับสูงขึ้นตามศักยภาพของตนเองเป็นคนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น”
กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนองแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังแนวคิดหลักการสหกรณ์ให้แก่เด็กและเยาวชนโดยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน ซึ่งพระองค์ท่านทรงมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูต่าง อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2534 ให้ดำเนินการสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ต่อมาทรงมีพระราชกระแสกับอธิบดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2534 ให้ส่งเสริมวิธีการสหกรณ์ให้แพร่หลายไปยัง เด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ จึงได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 6 แห่ง เป็นโครงการนำร่องในปี 2534 เป็นต้นมา จวบจนปัจจุบันกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนองแนวพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง และขยายผลการดำเนินงานไปยังโรงเรียนทั้งสิ้น 444 แห่ง ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนเอกชนสอน

ศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนในสังกัดกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
8. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวปลอดภัยของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1

ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการนำเทคโนโลยีการผลิตข้าวปลอดภัยไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 70
2. ร้อยละของกลุ่มผู้ผลิตข้าวที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาศักยภาพการเพิ่มมูลค่าข้าว ร้อยละ 70

กิจกรรมที่ดำเนินการ กิจกรรมส่งเสริมการผลิตข้าวและแปรรูปข้าวปลอดภัย
1. จัดประชุมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ และรับสมัครคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
2. จัดอบรมเกษตรกรเพื่อส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย
3. จัดประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์
4. สนับสนุนปัจจัยการผลิตและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดภัย
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำบัญชีฟาร์ม/บัญชีครัวเรือน
6. ร่วมกิจกรรมนำเสนอผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงตลาด/ศูนย์กระจายสินค้าเกษตรของสหกรณ์
7. ประสาน อำนวยการติดตาม และรายงานผลดำเนินงาน

9. เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์
กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ได้ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สหกรณ์ ทุกประเภทในการดาเนินธุรกิจให้แก่สมาชิกกู้ยืมหรือจัดหาสินค้ามาจาหน่าย หรือรวบรวมผลผลิต รวมถึงเพื่อลงทุนในทรัพย์สิน ในการดำเนินงานคณะกรรมการบริหาร กพส. ได้กำหนดระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ พ.ศ. 2550 และระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดแนวทางการบริหารเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เกี่ยวกับการให้กู้ยืม การชำระหนี้ การผ่อนชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการบริหารหนี้
สหกรณ์ในจังหวัดตากส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์การเกษตร มีปริมาณธุรกิจและจำนวนสมาชิกขนาดปานกลางและเล็ก ซึ่งมีความต้องการเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในการบริหารงานและทำธุรกิจเพื่อให้บริการแก่สมาชิกสหกรณ์ เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์จึงเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ ต้นทุนต่ำกว่าแหล่งเงินทุนอื่น ส่งผลให้สหกรณ์ลดต้นทุนจากการดำเนินธุรกิจเพื่อการให้บริการแก่สมาชิก ทั้งในด้านธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจแปรรูปผลผลิต ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจสินเชื่อที่สมาชิกได้รับเงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นสำหรับใช้จ่ายในครัวเรือนและเก็บออม สมาชิกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามปรัชญาของสหกรณ์

เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 มาตรา 5 กำหนดให้จัดตั้งกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรขึ้นเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกรในการผลิตการพยุง ราคา และการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร
ปัจจุบันเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากการที่ต้นทุนการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย น้ำมัน อาหารสัตว์ และเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้แรงงานในครัวเรือนก็ลดลงไปทำให้เกษตรกรต้องมีค่าใช้จ่ายในด้านแรงงาน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่งสินค้าเกษตรมักประสบปัญหาราคาตกต่ำ โดยเฉพาะปีใดที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก การแก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ควรมีการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างครบวงจร นอกจากการสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ยในการจัดหาปัจจัยการผลิตทั้งพืชและสัตว์แล้ว ควรสนับสนุนเงินทุนในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่นเป็นค่าแรงงานคนและเครื่องจักร เป็นเงินทุนในการรวบรวมผลิตผลไปจำหน่ายและการแปรรูปผลิตผล

ลิงก์เว็บไซต์หน่วยงาน
http://web.cpd.go.th/tak/index.php

 



guesthouse2562
facebook : บ้านพักรับรองเขื่อนภูมิพล จ.ตาก

kuansaychon
facebook : ร้านกาแฟคุณสายชลเขื่อนภูมิพล

manual

 





egat center
15311811531183

1531182
1531184

⚡ ขุมพลังงานท่ามกลางหุบเขา "Smart Grid แม่ฮ่องสอน" ⛰︎
ต้นแบบพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ความมั่นคงทางพลังงานแห่งอนาคต

📌 แม่ฮ่องสอนจังหวัดที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูง ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงได้ จังหวัดนี้จึงต้องพึ่งพาแหล่งผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่สะงา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำผาบ่อง ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน และโซลาร์ฟาร์ม ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นส่วนเสริม
💫 หากระบบส่งไฟฟ้าที่เชื่อมโยงไฟฟ้ามาจากจังหวัดเชียงใหม่ด้วยระยะทางยาวกว่า 170 กิโลเมตร มีปัญหาขัดข้อง จากสภาพพื้นที่เป็นป่าเขา จึงมักเกิดเหตุการณ์ลมพายุพัดต้นไม้ล้มพาดสายไฟฟ้าอยู่เสมอ อีกทั้งยังมีการเผาป่า และดินโคลนถล่ม แม่ฮ่องสอนจึงมีเหตุการณ์ไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับอยู่บ่อยครั้งและยาวนานที่สุด
💛 โครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงเกิดขึ้นตามแผนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทยในระยะสั้น พ.ศ. 2560 – 2564 ด้วยความร่วมมือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน กระทรวงพลังงาน พพ. กฟผ. และ กฟภ. เพื่อจำลองโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทยให้มีขนาดเล็กลง ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อเป็นต้นแบบในการนำเทคโนโลยีสมาร์ทกริดเข้ามาบริหารจัดการระบบไฟฟ้า ซึ่ง 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์ Smart สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการฯ นี้ได้ คือการเดินหน้า "Smart Energy" ที่ประกอบไปด้วยโซลาร์ฟาร์ม แบตเตอรี่ และระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคา หรือ โซลาร์รูฟท็อป
🎯 ปัจจุบันโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เตรียมพัฒนาสู่แผนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทยในระยะกลาง พ.ศ. 2565 – 2574 พร้อมเดินหน้าส่งเสริมระบบบริหารจัดการพลังงานให้ชาวแม่ฮ่องสอนใช้พลังงานอย่างมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพต่อไป


.

ศูนย์การเรียนรู้ ผาบ่อง

⚡️ เปิดโลกกว้างพลังงานแสงอาทิตย์ ☀️ ทำความรู้จักกับสมาร์ทกริด โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อพลังงานที่ยั่งยืนและชมความมหัศจรรย์ของชุมชนผาบ่อง ไปพร้อม ๆ กันได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ผาบ่อง 

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดให้บริการ เวลา 9.00 - 16.00 น. หยุดทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
สถานศึกษา หน่วยงานราชการ นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป สามารถจองรอบชมได้ ดังนี้
รอบชม 1 เวลา 9.00 - 10.30 น.
รอบชม 2 เวลา 10.30 - 12.00 น.
รอบชม 3 เวลา 13.00 -14.30 น.
รอบชม 4 เวลา 14.30 - 16.00 น.
จองรอบชมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันทำการ
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม
หมายเหตุ : กรณีไม่ได้จองรอบชมล่วงหน้า รอบเข้าชมเต็ม หรือ มาช้าเกิน 15 นาที ขอสงวนสิทธิ์ในการนำชมรอบถัดไป
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมและจองรอบเข้าชม
📞 โทร. 098-185-2805
📩 Inbox Facebook Page ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ผาบ่อง

400355380 208124958985224 6825818330934294399 n
400651673 210952408702479 1777468880156888359 n

400594082 208125602318493 8397029292311150808 n

400589873 210952458702474 4429200912895993966 n
400447011 208125022318551 1082352135707677318 n
400230046 208126145651772 9058409000400064611 n

ศูนย์การเรียน กฟผ.แม่ออน

402335200 682363833995626 2278401851283367871 n
402413270 680312320867444 1334755926219641353 n
402278643 682363907328952 2506618689102277847 n

401004792 680317950866881 728094976304446149 n
402252392 682364063995603 6221877965715410094 n

⚡️ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. แม่ออน แหล่งเรียนรู้เรื่องพลังงาน & แหล่งบูรณาการเชิงพื้นที่
💘ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. แม่ออน และติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้สมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจุมออน ละอ่อนรัก(ษ์)ถิ่น ที่กฟผ. ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรอบพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. แม่ออน หลังได้รับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์แยมผลไม้สมุนไพรจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ เพื่อวางแผนส่งเสริมการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอแม่ออน
🙌🏻 อยากชวนทุกคนมาเปิดใจเรียนรู้ที่ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. แม่ออน ศูนย์การเรียนรู้ที่มากกว่าความรู้ คือความสนุกที่ทุกคนเข้าถึงได้
เปิดให้เข้าชม ฟรี
ทุกวัน จันทร์ – เสาร์
เวลา 09.00 น. - 16.00 น.
หยุดทุกวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมและจองรอบการเข้าชม
☎️โทร 053-037-088
📩 Inbox page ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. แม่ออน





โคกหนองนาโมเดล เขื่อนภูมิพล

316126387 183272364249500 6749521484960718175 n
274715037 125898719985623 3783152174148205129 n
283080145 147934184448743 6323788883247522828 n
352978510 260770286499707 787890165864052964 n
316665443 183871714189565 7681747154029370474 n
333112042 3508907456053907 5991253096333918174 n
352781490 260770119833057 3530216829806251057 n
353062449 260765076500228 2368716895923966 n

 จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 1 มกราคม 2560